เป้าหมาย SDGs คืออะไร ใครๆก็ชอบพูดถึง!!

272 จำนวนผู้เข้าชม  | 

SDGs คืออะไร

ช่วงนี้มีคนพูดถึงเป้าหมาย SDGs มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชน เวลาจะสร้างโครงการอะไรก็มักจะอ้างถึง SDGs บางคนอาจสงสัยว่าคืออะไร  และมีความสำคัญแค่ใหน

SDGs คืออะไร

SDGs ย่อมาจากคำว่า Sustainable Development Goals:  คือวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573(ค.ศ. 2030) SDGs เกิดขึ้นจากการทำงานหลายทศวรรษของประเทศต่างๆ และสหประชาชาติ รวมถึงแผนกกิจการเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ  เป็นเป้าหมายในปี 2573 ของประชาคมโลก ที่จะช่วยกันสร้างโลกที่น่าอยู่ เป้าหมายเหล่านี้คือการเรียกร้องให้มีการดำเนินการเพื่อยุติความยากจน ปกป้องโลก และทำให้ทุกคนมีความสงบสุขและความมั่งคั่ง

SDGs ประกอบไปด้วยเป้าหมายทั้งหมด 17 แบ่งเป็น 5 มิติ คือ

1.People (มิติด้านสังคม)ประกอบด้วยเป้าหมายข้อที่ 1-5 คือ

   เป้าหมายที่ 1: ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

   เป้าหมายที่ 2: ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน 

     เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย

      เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

      เป้าหมายที่ 5: บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน

  

2.Prosperity (มิติด้านเศรษฐกิจ)ประกอบด้วยเป้าหมายข้อที่ 7-11 คือ

        เป้าหมายที่ 7: สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน 
        เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และ มีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน
        เป้าหมายที่ 9: สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
         เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ
         เป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน

3.Planet (มิติด้านสิ่งแวดล้อม) ประกอบด้วยเป้าหมายข้อที่ 6 และ 12-15 คือ

          เป้าหมายที่ 6: สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาล ให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้ สำหรับทุกคน 
          เป้าหมายที่ 12: สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
          เป้าหมายที่ 13: ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
          เป้าหมายที่ 14: อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
          เป้าหมายที่ 15: ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ


4.Peace (มิติด้านสันติภาพและสถาบัน) ประกอบด้วยเป้าหมายข้อที่ 16
            เป้าหมายที่ 16: ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ 


4.Partnership (มิติด้านหุ้นส่วนการพัฒนา) ประกอบด้วยเป้าหมายข้อที่ 17

             เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

               จะเห็นว่า SDGs มีความสำคัญมาก เพราะเป็นกรอบที่ชัดเจนสำหรับมีการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล ภาคเอกชน องค์กรทางสังคม  ชุมชน  และบุคคลทั่วไป เพื่อทำให้โลกเป็นสถานที่ที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มสูงวัย เด็ก เยาวชน และชนชั้นที่มีรายได้ต่ำ เป้าหมายเหล่านี้มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในอนาคตของเรา และการทำความเข้าใจและรับรู้เกี่ยวกับ SDGs จะช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนและท้าทายของโลกในปัจจุบันและในอนาคต

                และที่น่าสนใจคือ สิ่งนี้คือกรอบแนวคิดและปณิธาน ที่ควรต้องนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต ความสัมพันธ์กับสังคม และในธุรกิจ ของทุกคนด้วยเช่นกัน

Powered by MakeWebEasy.com